top of page
  • รูปภาพนักเขียนmoo mall

พลังแห่ง Micro-Influencers


จากงาน moomall “Tech The Next Step” คุณโซอี้ ภญ.โสภา พิมพ์สิริพานิชย์ หนึ่งในวิทยากรได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ influencer เอาไว้ โดยหนึ่งใน influencer ที่น่าจับตามองนั่นก็คือ micro-influencer นั่นเอง วันนี้เราจะมาเจาะประเด็นเกี่ยวกับ micro-influencer ให้ฟังกัน

...

Influencer คืออะไร

Influencer หากแปลตรงๆ จะหมายถึง “ผู้มีอิทธิพล” Vero เอเจนซี่ที่ปรึกษาด้านการตลาดให้คำจำกัดความคำว่า Influencer ว่าเป็นบล็อกเกอร์หรือบุคคลบนโลกออนไลน์ ที่มีผู้ติดตามมากพอ ที่จะสร้างผลกระทบด้านวัฒนธรรม และเศรษฐกิจได้

...

ระดับของ Influencer

Influencer นั้นก็แบ่งได้หลายระดับ ซึ่งหลักๆแล้วจะใช้ยอดผู้ติดตาม (Followers) เป็นเกณฑ์โดยจะแบ่งได้ 4 ขั้นดังนี้

  1. Celebrity-Influencer คือ Influencer ที่มียอดผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนทั่วไป

  2. Power-Influencer คือ Influencer ที่มียอดผู้ติดตามมากกว่า 1 แสนคนทั่วไป

  3. Peek-Influencer คือ Influencer ที่มียอดผู้ติดตามมากกว่า 1 หมื่นคนทั่วไป

  4. Micro-Influencer คือ Influencer ที่มียอดผู้ติดตามมากกว่า 1 พันคนทั่วไป

...

ข้อดีของ Micro-Influencer

  1. ไม่ปลอม (Authentic) ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเชื่อเพื่อนมากกว่าแบรนด์ ซึ่ง Micro-Influencer จะสร้างฐานแฟนคลับและมีปฏิสัมพันธ์ได้ โดยจะสามารถเพิ่มพันธะระหว่าง Micro-Influencer และ ผู้ติดตามผ่านคอนเทนต์

  2. เชื่อถือได้ (Trustworthy) ยิ่ง influencer มียอดผู้ติดตามเยอะเท่าไหร่ ความรู้สึกที่เชื่อมระหว่าง Influencer และผู้บริโภคนั้นกลับลดลง แต่ Micro-Influencer สามารถสื่อสารกับผู้ติดตามของเขาได้อย่างแนบแน่นมากกว่า

  3. เข้าถึงง่าย (Engaging) ในปัจจุบัน มีงานวิจัยออกมารองรับว่ายิ่งยอดผู้ติดตามเยอะ อัตราการมีส่วนร่วมกลับน้อย แต่ Micro-Influcencer กลับไม่เป็นเช่นนั้น ผู้ติดตามจะรู้สึกได้ใกล้ชิดกับ Micro-Influencer มากกว่า Celeb-Influencer นั่นเอง

  4. คุ้มราคา (Cost-Effective) งบประมาณสำหรับ Macro-Influencer อาจจะสามารถจ้าง Micro-Influencer ได้มากมาย ทว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการจ้าง Macro-Influencer อาจไม่ดีเท่าการจ้าง Micro-Influencer เสมอไป ซึ่งการจ้าง Micro-Influencer นั้นจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้นแล้วยังเพิ่มความรู้สึกดีให้แก่แบรนด์อีกด้วย

...

ส่งผลให้

  1. เพิ่มอัตราการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์

  2. สร้างความเข้าถึงได้ง่าย (Affordability) ให้แก่แบรนด์

  3. เพิ่มอัตราการเปลี่ยนใจของผู้ซื้อ

  4. แบรนด์สามารถเจาะกลุ่มตลาดเฉพาะ (Niche market) ได้ดียิ่งขึ้น

...

แล้วจะหา Micro-Influencer ได้จากไหน

  1. Hashtags การใช้ Hashtag เป็นสิ่งที่ง่ายมากๆในการค้นหา Influencer คุณสามารถใส่ชื่อสินค้าของคุณหรือคำค้นที่เกี่ยวข้อง และเลือก Micro-Influencer จากผลการค้นหาที่พบ

  2. Researching คุณสามารถใช้ช่องทางออนไลน์เช่น Social media ต่างๆไม่ว่าจะเป็น Facebook, Youtube, Instagram หรือแม้กระทั่ง Search engine อย่าง Google เพื่อค้นหา Micro-Influencer ที่โดนใจคุณ

...

ก่อนจะจ้าง Micro-Influencer ควรดูอะไรบ้าง

การจ้าง Micro-Influencer ให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุดนั้น ควรที่จะเลือกคนที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเรามากที่สุด ซึ่งคุณสามารถใช้ตัวเลือกเหล่านี้ในการคัดเลือด Micro-Influencer ได้เลย

  1. อายุ(Ages)

  2. สถานที่(Location)

  3. เพศ(Gender)

  4. อาชีพ(Occupation)/อุตสาหกรรม(Industry)

  5. ความชอบ(Interest)/งานอดิเรก(Hobbies)

ตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการใช้ Micro-Influencer: Spotify, Adobe

ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page